ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

OpenWrt แบ่ง VLAN แยก Multi-SSID

แยก Network ออกจากกันนั้นได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น การจัดการกลุ่มผู้ใช้ได้ง่าย ประโยชน์ด้านความปลอดภัย และที่สำคัญยังได้ช่วยให้ลด broadcast ลงด้วยทำให้ network มีประสิทธิภาพมากขึ้น


VLAN คืออะไร

V = Virtual  หรือเสมือนนั่นเอง  แต่ทำไหมถึงต้องมี Virtual ขออธิบายด้วยภาพให้เข้าใจง่ายๆ

โดยทั่วไปแล้ว Switch และ Hub จะทำหน้าที่ขยายวง LAN ได้แค่วงเดียวเท่านั่น  เมื่อเราต่อพ่วง Switch, Hub ออกไปเรื่อยๆ  ก็จะเป็นเพียงแค่ 1 Network หรือ 1 LAN

1 LAN
ปัญหาก็คือ พอเราต่อกันจนมีจำนวน hosts มากขึ้น ก็จะเกิด Broadcast จำนวนมากขึ้นตามไปด้วย เหมือนกันคนจำนวนมากอยู่ในห้องเดียวกันแล้วตะโกนคุนกันท่ามกลางความโกลาหลอะไรแบบนั้น

ทีนี้เพื่อที่จะแก้ปัญหา Broadcast นั้น เราต้องแบ่ง network ออกจากกัน โดยมี Router คอยทำหน้าที่เป็นตัวกลาง โดยจะทำหน้าที่ Forward ข้ามไปมาระหว่าง network
Real  2 LAN  without VLAN 
พอเราแย่ง Network ออกมาเป็นแบบนี้แล้ว แก้ปัญหา Broadcast ได้แล้ว ภาพที่เห็นแบบนี้คือแยกการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Network ออกจากกัน"จริงๆ"  ถ้ามีการเพิ่มวง LAN เข้าไปอีก ก็ต้องมีอุปกรณ์จริงๆ มารองรับ

- Router ก็ต้องมี Interface (Port) จริงๆ มารองรับ สำหรับ LAN วงนั้น
- Switch ก็ต้องแยกจากกันจริงๆ  คนละวง LAN ใช้ร่วมกันไม่ได้

จะเห็นว่าการใช้งานแบบนี้ เราไม่ต้องมีสนใจเรื่อง VLAN เลย อุปกรณ์ Switch/Hub ทั่วไปๆ ก็สามารถนำมาใช้ได้  แต่ว่าต้องต่อแยกจากกันไปเลยนะครับ

โดยทั่วไปการแบ่ง network ออกจากกันแบบนี้ก็เพียงพอแล้ว  แต่ว่าความต้องการของคนเราไม่มีที่สิ้นสุด 555 เพราะข้อจำกัดด้านบนนั้น ต้องแยกอุปกรณ์จริงๆออกจากกันชัดเจน ทำให้ในความเป็นจริงถ้ามี hosts จะต้องอยู่คนละ network กันว่า switch มีอยู่จำกัด แล้วจะแยกจากกันยังไง   หรือที่ต้องแบ่ง network ออกไปนั้น ต้องการแค่ port lan ไม่กี่ช่องเท่านั้น  ก็จะทำให้เหลือ port ที่ไม่ได้ใช้เหล่านั้นเสียไปเปล่าๆ   ทำให้ใช้อุปกรณ์เหล่านั้นไม่คุ้มค่าเท่าไหร่ และอีกอย่างปัญหาด้านการจัดการถ้าต้องการก็ต้องไปจัดการที่ตัวอุปกรณ์นั้นจริงๆ เป็นต้น

ทำให้เกิดคำว่า  V = Virtual  หรือเสมือนขั้นมา เป็น VLAN นั่นเอง


แน่นอนครับว่าอุปกรณ์ที่เพิ่มคุณสมบัติ VLAN เข้ามานี้จะไม่ใช่ทุกตัว เพื่อแบ่งเกรดขายตามราคานั่นเอง

โดย VLAN ยังมีหลาย Protocol อีก ที่รู้จักกันส่วนใหญ่ก็จะเป็น VTP ของ Cisco ซึ่งไม่ใช่มาตรฐานกลางแต่คือเทคโนโลยีเฉพาะยี่ห้อของเราเอง แต่ว่าเนื่องจากมีการใช้อย่างแพร่หลายคนเลยนิยมมากกว่า  และเมื่อมีการพูดถึง VLAN ก็จะเอาคำนิยามของ Cisco มาอธิบายมากกว่า เช่นคำว่า Trunk เป็นต้น

อีก Protocol หนึ่งซึ่งเป็นมาตรฐานคือ  IEEE 802.1Q ซึ่ง OpenWrt เองก็ใช้ตัวนี้ ซึ่งคือขั้นตอนที่ผมจะนำมาทำเป็นตัวอย่างผ่าน web GUI ของ OpenWrt ให้ดูอีกนะครับ

Configuration VLAN on RT01

add Virtual Interfaces



add IP Address to Interfaces


Configuration on AP01
  


add Virtual Interfaces



add SSID name


Test Connect wifi from AP01


DHCP Status on RT01

  

ความคิดเห็น

  1. JAMBAI CASINO, SITUS JUDI SLOT, MIZEN JUDI SLOT
    JAMBAI CASINO SITUS JUDI SLOT, MIZEN JUDI SLOT, MIZEN 양주 출장샵 JUDI 춘천 출장안마 SLOT, MIZEN JUDI 아산 출장안마 SLOT, SLOT, MIZEN JUDI SLOT, 부산광역 출장안마 MIZEN JUDI SLOT, MIZEN JUDI 삼척 출장샵 SLOT

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Happy New Year ปีใหม่นี้จดโดเมน .page กับ Google

Happy New Year เริ่มปีใหม่นี้ลอง #จดโดเมน กับ google ดู ปกติจะจดกับ Godady เป็นหลัก ลองโดเมน .page ซึ่งเป็นโดเมน Google ดูแลเอ ง ^_^ ได้ชื่อ https://www.dBlog.page มา 350 บาท/ปี อันที่จริงอยากได้ dd.page ล่ะ แต่มันขึ้น Premium ไปล่ะ * Premium หมายถึงมีคน #จดไปแล้ว แล้วเอามาขายต่อ ซึ่งในที่นี้เขาตั้งขาย 18,640/ปี เนื่องจากว่าโดเมน .page บังคับว่าจะต้องใช้ร่วมกับ https  ซึ่งถ้าเอาไปใช้เองก็ต้องหาซื้อ SSL Cerificate ให้วุ่นวายอีก ก็เลยตั้งใจว่าจะเอามาใช้กับ Blogger เพื่อใช้เขียนบล๊อคเป็นหลัก หลังจากทำการสั่งซื้อโดเมนเรียบร้อยแล้ว ทำการ Verify Email  ก็เข้าสู่หน้า Domain Control เรียบร้อยครับ ก็ไปที่เมนู Website และ Build Website โดยเลือกใช้ Blogger ได้เลย เราสามารถตั้ง subdomain ให้กับ domain.page ของเราได้เลย โดยไม่ต้องไปสร้าง subomain.bloggr.com เตรียมไว้รอ แต่ก่อนจะเริ่มเขียนบล็อค แนะนำว่า "ควรจะ" ไปตั้ง Time Zone ก่อนครับ  อย่างที่ผมกำลังเขียนอยู่ตอนนี้ วันที่หนึ่งปีใหม่แล้ว แต่ถ้าไม่เปลี่ยน ยังเป็